การสอบเขียนในการวัดระดับภาษาเยอรมัน (รวมถึงภาษาอื่นๆด้วย) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้สอบ เพราะบ่อยครั้ง เราก็ไม่รู้ว่าเขามีหลักเกณฑ์การวัดอย่างไร แล้วที่เขียนไปมันโอเคหรือไม่ วันนี้ผมเลยเอาหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนของการสอบเขียนภาษาเยอรมัน TELC Deutsch B2 มาให้อ่านเพื่อเตรียมตัวให้ถูกจุดกันนะครับ
🌟 สอบเขียนอะไรบ้าง? 🌟
ในพาร์ตการเขียน (Schriftlicher Ausdruck) ของระดับ B2 ผู้สอบจะต้องเขียนจดหมายที่มีความยาว 150-200 คำ (ไม่ควรเขียนสั้นหรือยาวเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจถูกหักคะแนน!!!) ภายใน 30 นาที โดยตัวจดหมายนั้นจะมีทั้งจดหมายแบบไม่เป็นทางการที่ส่งไปหาเพื่อนหรือคนสนิทหรือจดหมายเป็นทางการ เช่น จดหมายสมัครงาน หรือติดต่อหน่วยงานต่างๆ (ในตอนสอบ ผู้สอบจะได้หัวข้อมา 2 หัวข้อ ให้เลือกเขียนเพียง 1 หัวข้อที่ตนคิดว่าถนัดมากกว่าเท่านั้นนะครับ)
ลักษณะของการเขียนนั้น โจทย์จะกำหนดมาให้ว่าต้องการให้เราเขียนในลักษณะไหน หลักๆก็จะมี Beschwerdebrief (จดหมายร้องเรียน) และ Bitte um Informationen (จดหมายขอข้อมูลเพิ่ม) เป็นต้นครับ
สิ่งที่สำคัญที่ผู้สอบต้องคอยระวังและพยายามจดจำให้ได้ก่อนไปสอบก็คือ
- ต้องจำรูปแบบของจดหมายแบบเยอรมันให้ได้ – วันที่, คำทักทายเกริ่นนำ, ที่อยู่, คำลงท้าย จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และใช้คำสอดคล้องกับโจทย์ที่ได้รับมา
- ต้องเขียนถึงสิ่งที่โจทย์กำหนดให้ครบทุกข้อ อย่าให้ขาดตกบกพร่องไปนะครับ
- ต้องพยายามใช้คำเชื่อมประโยคต่างๆให้หลากหลายและถูกต้อง (การฝึกอ่านเขียนภาษาเยอรมันเยอะๆและบ่อยๆจะช่วยตรงนี้ได้มากครับ)
🌟 หลักเกณฑ์การให้คะแนนมีอะไรบ้าง? 🌟
จดหมายที่เขียนมาจะถูกตรวจโดยกรรมการตรวจข้อสอบ 2 คน คะแนนเต็มของพาร์ตจดหมายคือ 45 คะแนน คิดเป็น 15% ของคะแนนเต็ม 300 คะแนน ของการสอบทั้งหมดครับ
สามเงื่อนไขหลักในการพิจารณาให้คะแนนก็คือ
เงื่อนไข 1: Behandlung des Schreibanlasses – การอธิบายเหตุผลในการเขียน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)
เงื่อนไข 2: Kommunikative Gestaltung – การวางโครงสร้างในการสื่อสาร (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)
เงื่อนไข 3: Formale Richtigkeit – ความถูกต้องของแบบฟอร์มการเขียน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)
คะแนนรวมจากทั้งสามเงื่อนไขนี้จะเอามาคูณ 3 เป็นคะแนนของพาร์ตสอบเขียนนี้นะครับ อนึ่ง ในสองเงื่อนไขแรก กรรมการอาจจะให้เกรด A* ก็ได้ หากความสามารถในการเขียนนั้นสูงปรี๊ดเกินกว่าระดับ B2 ไปแล้ว (แต่ก็ไม่ได้คะแนนเพิ่มเกินกว่าเกรด A – แล้วจะตั้งกฎนี้ไว้เพื่อ!?!?)
🌟 ในแต่ละเงื่อนไขให้คะแนน ต้องพิจารณาอะไรบ้าง? 🌟
คราวนี้เรามาดูรายละเอียดในการพิจารณาของแต่ละเงื่อนไขกันเลยนะครับ
เงื่อนไข 1: Behandlung des Schreibanlasses
สิ่งที่กรรมการพิจารณาให้คะแนนคือ…
1.1) หัวข้อและลักษณะของจดหมายที่ผู้สอบเลือก
1.2) ผู้สองต้องพิจารณาอย่างน้อย 2 ประเด็นหลักที่โจทย์ให้มา รวมไปถึงประเด็นและเนื้อหาอื่นๆด้วย
การให้เกรดของเงื่อนไขนี้ก็คือ
A* (5 คะแนน) – ความสามารถสูงปรี๊ดเลิศเลอเกินระดับ B2
A (5คะแนน) – เหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบ
B (3 คะแนน) – พอไหว ไปวัดไปวาได้
C (1 คะแนน) – แทบจะยอมรับมิได้
D (0 คะแนน) – โดยภาพรวมแล้ว กรรมการปล่อยผ่านไม่ได้
เงื่อนไข 2: Kommunikative Gestaltung
การประเมินให้คะแนนจะพิจารณาจาก…
2.1) การจัดเรียงข้อความและตัวหนังสือ โดยต้องเขียนให้สามารถไล่ตามอ่านได้เข้าใจง่าย เป็นเหตุเป็นผล
2.2) การใช้คำเชื่อมประโยคต่างๆ ต้องสละสลวยและสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารผ่านการเขียนออกมา
2.3) ความหลากหลายของการใช้ภาษาไม่ใช้คำเดิมๆซ้ำๆ แต่ว่าสามารถพูดถึงสิ่งเดียวกันด้วยการบรรยายหรือเปรียบเทียบในแบบอื่น
2.4) การใช้รูปแบบภาษาที่คงเส้นคงวาและสม่ำเสมอ ไม่ใช้ภาษาที่เหมาะกับเพื่อนมาเขียนจดหมายทางการ หรือในทางตรงกันข้าม
การให้เกรดของเงื่อนไขนี้มีดังต่อไปนี้
A* (5 คะแนน) – ความสามารถสูงปรี๊ดเลิศเลอเกินระดับ B2
A (5คะแนน) – เหมาะสมอย่างเต็มรูปแบบ
B (3 คะแนน) – พอไหว ไปวัดไปวาได้
C (1 คะแนน) – แทบจะยอมรับมิได้
D (0 คะแนน) – โดยภาพรวมแล้ว กรรมการปล่อยผ่านไม่ได้
เงื่อนไข 3: Formale Richtigkeit
สิ่งที่จะถูกประเมินในการให้คะแนนในเรื่อง Formale Richtigkeit ก็คือ ไวยากรณ์ (Syntax), การผันคำที่ถูกต้องเหมาะสม (Morphologie) และ การสะกดคำให้ถูกต้อง (Orthographie)
จดหมายที่ผู้สอบเขียนจะได้รับเกรดต่างๆตามลักษณะดังต่อไปนี้
A (5 คะแนน) ถ้าไม่มีหรือมีจุดผิดน้อยมาก โดยจุดที่ผิดนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อเจตนาโดยรวมของจดหมาย
B (3 คะแนน) ถ้ามีจุดผิดนิดหน่อยที่ไม่ทำให้เจตนาของการเขียนผิดเพี้ยนไปเมื่ออ่านครั้งเดียว
C (1 คะแนน) ถ้ามีจุดผิดที่ทำให้ต้องกลับมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจหลายรอบและทำให้เจตนาของจดหมายนั้นผิดเพี้ยนไปมาก
D (0 คะแนน) ถ้ามีจุดผิดเยอะมากที่ทำให้อ่านแล้วไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเขียนจดหมายนั้นเลย
สำหรับคนที่ต้องการผ่านการสอบเขียนนี้ จะต้องได้คะแนนรวมอย่างน้อย 60% ขึ้นไป นั่นก็คือ 27 คะแนนนั่นเองนะครับ จะเห็นว่าถ้าพยายามฝึกตนเองให้ได้เกรด B ในทุกๆหัวข้อที่ใช้วัด เราก็น่าจะผ่านได้ไม่ยากมากครับ
พอรู้หลักการการให้คะแนนคร่าวๆแล้ว แอดมินคิดว่าทุกคนที่เตรียมสอบก็น่าจะพอรู้ทางหนีทีไล่กันมากขึ้นนะครับ 😊😊😊
สำหรับคนที่อยากดูแนวข้อสอบ สามารถเข้าไปดาวนโหลดตัวอย่างข้อสอบ TELC Deutsch B2 ฟรีได้จาก ลิงค์ของ TELC นะครับ
สำหรับคนที่สนใจอยากทราบหลักเกณฑ์การให้คะแนนของการสอบพูด TELC Deutsch B2 ก็สามารถติดตามอ่านได้จากบทความ การสอบพูด TELC Deutsch B2 ให้คะแนนอย่างไร!?!? ได้เลยนะครับ Viel Spaß beim Deutschlernen & viel Erfolg bei deinem Test! 😊😊😊
tied up teen slut fucked. http://snapxxx.monster blonde teen tugs cumshot.
ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มาก
sehr gerne krab 🙂